กวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica )
กวาวเครือขาวเป็นสมุนไพรที่กล่าวได้ว่า เป็นราชินีสมุนไพรไทยโดยแท้
มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี สรรพคุณโดยรวมจะเน้นไปใน การทำให้ผู้สูงอายุ
โดยเฉพาะสตรีวัยทอง กลับสดชื่น กลับมาเป็นสาว
นอกจากนี้ กวาวเครือยังสนับสนุนความเป็นผู้หญิง ไปในทำนองให้สวยงามขึ้น และบำรุงอวัยวะภายใน ไปในทางที่ ส่งเสริมวัยเจริญพันธ์
สรรพคุณกวาวเครือ ในตำราแพทย์แผนโบราณ
ตำราแผนโบราณได้กล่าวไว้ดังนี้ " คนอ่อนเพลีย ผอมแห้ง แรงน้อย นอนไม่หลับ กินไม่ได้
กินยานี้ 20-30 วัน โรคอ่อนเพลียหายสิ้น นอนหลับสบาย เดินไปมาได้ตามปกติ
กวาวเครือบำรุงโลหิต บำรุงสมอง บำรุงกำลัง หญิงอายุ 70-80 ปี กินแล้วอ้วนท้วนสมบูรณ์
กลับมีระดูอย่างสาว นมมีไตแข็งขึ้นอีก ชายกินแล้วนมแตกพานแข็งเหมือนเด็กหนุ่ม มีกล้าม เนื้อหนังเต่งตึง ท่านห้ามเด็กหนุ่มสาวกิน
ตำผงกินกับน้ำนมวัว หัวคิดสมองปลอดโปร่ง ทรงจำตำราโหราศาสตร์ได้ถึง 3 คัมภีร์ เนื้อหนังจะนิ่มนวลดุจเด็ก 6 ขวบ อายุจะยืนถึง 3,000 กว่าปี โรคาพยาธิจะไม่มาเบียดเบียนเลย รับประทานกับน้ำข้าวที่เช็ดไว้ให้เปรี้ยว จะมีเนื้อหนังนิ่มนวลดุจเทพธิดา รับประทานกับน้ำมันเนยหรือน้ำผึ้ง จะอายุยืน ท่องโหราศาสตร์ได้ 3 คัมภีร์ จะรับรองมาตุคามได้ถึงพันคน ( น่าจะเป็นกวาวเครือแดง ) รับประทานกับนมเปรี้ยว อายุยืน ผมไม่ขาว ฟันไม่หลุด เนื้อหนังไม่ย่น รับประทานกับตรีผลา (มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก) จักษุที่มัวหรือมีฝ้า แลไม่เห็นก็จะเห็น แช่นมควายทาผม ผมจะงอกดี ผมขาวจะดำ ทาผมด้วยน้ำมันงา ผมจะไม่ขาว เนื้อหนังจะไม่ย่น โรคาพยาธิทุกจำพวกจะไม่มีเลย แช่น้ำนมทา คนที่เสียจักษุโดยมีฝ้าปิด 6 เดือน จะกลับเห็นดีตามเดิม ( อ้างอิงที่ 1 )
สารสำคัญในกวาวเครือ
สารสำคัญ ที่พบในกวาวเครือขาวมีมากมาย ที่เด่น ๆ ได้แก่ miroestrol, daidzein, genistin, puerarin, สารต่าง ๆ เหล่านี้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็น ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) คือเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพืช และออกฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจนทุกประการ โดยออกฤทธิ์ที่ตัวรับ ( receptor ) เดียวกับเอสโตรเจน สารไฟโตรเอสโตรเจน พบมากในถั่วเหลือง และมีรายงานมากมายว่า สามารถมีฤทธิ์ลดการสร้างอนุมูลอิสระ ( Anti- oxidant ) ซึ่งอาจต้านมะเร็งและช่วยในโรคหัวใจ และมีรายงานว่าการทานธัญพืชและพืชตระกูลถั่วเหลืองสามารถลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก และลำไส้ใหญ่ และช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้กวาวเครือสามารถจะลดมะเร็งหรือป้องกันมะเร็ง ได้ แต่ก็มีงานวิจัยว่ากวาวเครือขาวไม่มีผลส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมหลายชนิด และยังอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดได้ด้วย
กาวเครือขาว มีสารออกฤทธิ์สำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง (Phytoestrogens)
ซึ่งได้แก่ miroestrol และ deoxymiroestrol ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลักษณะความเป็นผู้หญิง
ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นในระยะเวลา 1-6 เดือน ประมาณ 0.5 – 3 นิ้ว
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้หน้าอกขยายขึ้นเรื่อย ๆ
จนถึงระดับหนึ่งเมื่อหน้าอกกระชับ เมื่อ ได้ขนาดพอใจแล้ว ต้องลดการกินลง
อาจจะเป็นวันเว้นวัน วันเว้นสองวัน ลดลงพอ ประคองขนาดไว้
นอกจากนี้สาร miroestrol ยังช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งสดใสแก่ผิวพรรณได้อีกด้วย
ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวนี้หากใช้ในปริมาณน้อย จะช่วยออกฤทธิ์กระตุ้นในเชิงบวก
แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งเสียเอง
โดยฤทธิ์ของกวาวเครือขาวนั้นไม่ถาวร ถ้าหยุดรับประทานฤทธิ์ของกวาวเครือก็จะค่อย ๆ
หมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ (และการเก็บรักษาที่นานเกินไป 5-10 ปี จะทำให้ฤทธิ์ก็จะค่อย ๆ เสื่อมลงเช่นกัน)
ความปลอดภัย
ปัจจุบันกวาวเครือชนิดที่รับประทาน ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ซึ่งมีกวาวเครือในปริมาณ ประมาณ 100 มก. เป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย ผ่านการวิจัยในความเป็นพิษระยะยาวในหนูทดลองแล้ว ( อ้างอิงที่ 12 ) และการใส่ร่วมกับสมุนไพร เช่น ตรีผลา คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก ก็มีในตำรับโบราณ ทั้งนี้ ตรีผลา ก็มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย การทานร่วมกับกวาวเครือ จึงช่วยให้มีสมดุลที่ดี
กวาวเครือจึงปลอดภัย ถ้ามีการรับประทานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การรับประทานกวาวเครืออย่างปลอดภัย
จะต้องมีการตรวจร่างกายที่จำเป็นก่อนการรับประทานได้แก่ ตรวจเต้านม ตรวจการทำงานของตับ และมดลูก ทั้งนี้เพราะกวาวเครือไม่เหมาะในผู้ที่เป็นโรคของเต้านม มดลูกและ ตับ โรคของเต้านมที่เป็นอยู่ก่อน จะห้ามรับประทานกวาวเครือโดยเด็ดขาดทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ซีสต์ เป็นพังผืด และการตรวจเต้านมยังเป็นการตรวจสกรีนหามะเร็งในเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้ก็ควรตรวจมดลูกก่อน เพราะกวาวเครือ ก็ไม่น่าจะเหมาะสมในผู้ที่เป็นโรคในมดลูกทุกชนิดเช่นกัน เช่น พังผืด เนื้องอก รวมทั้งก้อนในมดลูก แม้จะเป็นคนที่ปวดประจำเดือนบ่อย ๆ ก็ไม่ควรรับประทาน
ข้อห้ามของการรับประทานกวาวเครือขาว
1. ผู้ที่เป็นโรคของทรวงอก เช่น เป็นซีสต์ เป็นพังผืด เป็นก้อน เป็นเนื้องอก เป็นมะเร็ง
2. ผู้ที่เป็นโรคของมดลูกและรังไข่ ทุกชนิด ทำนองเดียวกันกับทรวงอก
3. ผู้ที่ดื่มสุรา มีประวัติเป็นโรคตับ เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง
4. ไม่ใช้ในเด็กและสตรีมีครรภ์
5. สตรีวัยเจริญพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์
โดยสรุป กวาวเครือขาวจึงเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ และมีความปลอดภัยถ้ารู้จักใช้อย่างเหมาะสม
ถือเป็นสมุนไพรประจำชาติไทยที่มีคุณภาพสูงใคร ๆ ก็สู้ไม่ได้ และเป็นสมุนไพรที่นำชื่อเสียงมาให้ประเทศไทยอย่างแท้จริง
เอกสารอ้างอิง
1. หลวงอนุสารสุนทร. ตำรายาหัวกวาวเครือ. กรมการพิเศษ เชียงใหม่ โรงพิมพ์อุปะติพงศ์ พฤษภาคม 2474
2.ผลของกวาวขาว ( Pueraria mirifica Sahw et Suvatabandhu ) ต่อยุงก้นปล่อง
( Anopheles dirus Peyton, Harrison ) . Abstract 16th Conference on Science and Techonology of Thailand 25-27 October 1990:16
3. ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดของกวาวขาวในหนูขาว. วารสารคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2529-2530: 13-14 ( 2/1 ):75-78
4. ผลของกวาวเครือขาวต่อการสืบพันธ์ของนกพิราบ การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 กรุงเทพ ประเทศไทย 27-29 ตุลาคม 2535:178
5. ผลของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดต่อการสืบพันธ์ของหนูขาวเพศเมีย การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 สงขลา ประเทศไทย 19-21 ตุลาคม 2537:280
6. สมุนไพร อาหารเสริม ฮอร์โมน เอกสารประกอบการสัมนาวิชาการ สมุนไพรกับสตรีวัยทอง. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันแพทย์แผนไทย 19-20 กรกฏาคม 2542 : 35-417.
7. ภาพรวมงานวิจัยและพัฒนากวาวเครือตั้งแต่อดีต 2524 ถึงปัจจุบัน 2541 : เอกสารประกอบการ สัมมนาวิชาการกวาวเครือ สถาบันแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 1 ธันวาคม 2541:13-25
8. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับกวาวขาวในลูกสุนัข. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายสัตวแพทย์ กองสาธารณสุข เทศบาลนครเชียงใหม่ เชียงใหม่
9. พิษของกวาวเครือขาว ( Pueraria mirfica ) ต่อนกกระทาพันธ์ญี่ปุ่น. วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2527; 11 ( 1-2 ) :46-55
10. อิทธิพลของกวาวเครือขาว ต่อนกกระทา การสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2535; 25(3):107-14
11. การศึกษาผลของกวาวขาวที่มีต่ออวัยวะสืบพันธ์ต่อมหมวกไต ตับ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ในหนุขาวเพศผู้ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2527
12. พิษวิทยาของกวาวเครือขาว. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2546
ส่วนประกอบสำคัญ : ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย
กวาวเครือขาว 50 มก. ตรีผลา 105 มก.
(ลูกสมอไทย 35 มก. ลูกสมอพิเภก 35 มก. และลูกมะขามป้อม 35 มก.)
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย
วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 1 ครั้งหลังอาหาร
ควรมีการหยุดทานเป็นระยะในช่วง 7 วันสุดท้ายของแต่ละเดือนเหมือนกับการรับประทานยาคุมกำเนิด
เพื่อให้โอกาสมดลูกได้พักและมีประจำเดือนตามปกติ ควรได้รับการตรวจภายในและมะเร็งเต้านมเป็นระยะ ตามที่กำหนดไว้เช่น ทุก 6 เดือน หรือ หนึ่งปี
เป็นยาแผนโบราณ / ยาสามัญประจำบ้าน
ฆอ. 661/2551
ขนาด 20 แคปซูล
สมาชิก 105 บาท
ขนาด 20 เม็ด